image

WAT PORTAL

วัดพระบรมธาตุไชยา
ข้อมูลทั่วไป
  • ชื่อ : วัดพระบรมธาตุไชยา
  • ที่ตั้ง : หมู่ 3 ต.เวียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
  • นิกาย : มหานิกาย
  • ชนิด : วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
  • ประเภทวัด : พระอารามหลวง
  • วัน - เวลาเปิด :
    วันอาทิตย์
    : 06:00 - 18:00
    วันจันทร์
    : 06:00 - 18:00
    วันอังคาร
    : 06:00 - 18:00
    วันพุธ
    : 06:00 - 18:00
    วันพฤหัสบดี
    : 06:00 - 18:00
    วันศุกร์
    : 06:00 - 18:00
    วันเสาร์
    : 06:00 - 18:00
  • หมายเหตุ : เป็นวัดเพื่อการท่องเที่ยว (เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้)

     วัดพระบรมธาตุไชยา หรือชื่อเต็มว่าวัดพระบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร  ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอไชยา เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ มีนามว่า "วัดพระธาตุไชยา" และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เลื่อนฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และพระราชทานนามว่า "วัดพระบรมธาตุไชยา" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ วัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดโบราณไม่ปรากฎหลักฐานทางเอกสารแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมเคยปรักหักพังรกร้างมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งได้มีการบูรณะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๕๓ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ "พระบรมธาตุไชยา" พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ทรงปราสาทเรือนธาตุมีฐานเป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง ๔ ด้าน สูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วรูปสี่เหลี่ยม ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง ขนาดทางด้านทิศตะวันนออกถึงทิศตะวันตก ยาว ๑๓ เมตร ขนาดทางด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ ยาว ๑๘ เมตร ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดิน ปัจจุบันทางวัดได้ขุดบริเวณฐานโดยรอบกว้าง และลึกประมาณ ๑ เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ส่วนบนของบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ ที่มุมทั้ง ๔ ประดับด้วยสถูปจำลอง ตรงกลางฐานเป็นรูปบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่งรองรับเรือนธาตุทรงจตุรมุข มุขด้านหน้าทางด้านทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปภายในองค์เจดีย์ได้ ผนังเรือนธาตุก่ออิฐไม่สอปูน ลดหลั้นกันขึ้นไปถึงยอด มุขอีกสามด้านทึบ เหนือมุขเป็นซุ้มหน้าบันประดับลายปูนปั้น รูปวงโค้งคล้านเกือกม้าเรียกว่า กุฑุ เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นหลังคาซ้อนกันขึ้นไป ๓ ชั้น โดยการจำลองย่อส่วนอาคารเบื้องล่างลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับด้วยสถูปจำลองที่มุมทั้งสี่ และตรงกลางด้านเหนือซุ้มหน้าปัน รวมจำนวนสถูปจำลองชั้นละ ๘ องค์ ทั้งหมด ๓ ชั้นเป็นจำนวน ๒๔ องค์ถัดขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งซ่อมแปลงครั้งใหญ่ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขยายส่วนยอดให้สูงขึ้นเริ่มตั้งแต่บัวปากระฆัง ซึ่งเป็นดอกบัวบานขนาดใหญ่ องค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ต่อด้วยฉัตรแปดเหลี่ยม ๕ ชั้น บัวกลุ่ม และปลียอดหุ้มทองคำ เหนือปลียอดประดับฉัตรหุ้มทองคำหนัก ๘๒ บาท ๓ สลึง ต่อมาถูกขโมยลักไป ทางวัดจึงจัดทำขึ้นใหม่ด้วยทองวิทยาศาสตร์ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างมานานและเก่าแก่มาก จากหลักฐานน่าจะเป็นสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิเชื่อมต่อกับอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งได้รับเอาพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และจากปรากฎหลักฐานของโบราณวัตถุ โบราณสถาน หรือศิลปวัตถุ ที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าวัดวัดพระบรมธาตุไชยาเป็นวัดที่เก่าแก่ และผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานหลายยุคหลายสมัย โดยการรับเอาอารยธรรมของอาณาจักรต่าง ๆ มา ซึ่งสามารถสันนิฐานได้จากโบราณสถาน โบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมึีปรากฏอยู่หลายสมัย อันแสดงถึงความเจริญ และความเสื่อม บางครั้งทิ้งร้างไปแล้วฟื้นฟูขึ้นใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังหลักฐานที่เหลืออยู่ดังต่อไปนี้

      ๑. สมัยอาณาจักรทวารวดี พบพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคนและย่อมกว่าเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๗๔ ซม. สูง ๑๐๔ ซม. ลักษณะประทับบนฐาน บัวคว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกัน พระเกศาขมวดเป็นต่อมโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด จีวรห่มบางแนบพระองค์ คลุมอังสะชัยไม่มีพระอุระมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ อีกองค์เป็นพระพุทธรูปยืนประทับบนฐานบัว จีวรห่มคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคตมีลวดลาย ไม่มีพระรัศมีเม็ดพระศกกลมใหญ่ ทำด้วยศิลาสูง ๑๔๒ ซม. ปัจจุบันทั้งสององค์  ประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา จากหลักฐานนี้เชื่อว่าวัดนี้หรือสถานที่แห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรทราวดี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๒๐๐  

      ๒. สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ในสมัยนี้ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก สังเกตได้จากองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย ด้วยเป็นสถานที่เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์จึงยังคงรูปแบบของศิลปศรีวิชัยไว้ได้ โดยไม่ได้รับการดัดแปลงเว้นแต่ตอนส่วนยอดที่หักพังลงมาและหายสาบสูญไปจึงได้ซ่อมแซมส่วนยอดมาเป็นแบบศิลปะไทยโบราณวัตถุที่พบเป็นหลักฐานที่ถือเป็นประติมากรรมที่งดงามที่สุดของไทยในสมัยศรีวิชัย คือพระพุทธรูปสัมฤทธิ์พระโพธิสัตว์โลกิเตศวรขนาดใหญ่พบที่ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพระพุทธรูปศิลาจำนวนมากกว่าที่พบในที่ใดในประเทศไทย ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพสมัยอาณาจักรศรีวิชัยเจริญ  รุ่งเรืองระหว่าง พ.ศ. ๑๒๐๐-๑๕๐๐

      ๓. สมัยสุโขทัยพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอีกครั้งพ่อขุนรามคำแหงได้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จดคาบสมุทรมาลายูมีการส่งทูตไปลังกาทวีปนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงค์ มาที่นครศรีธรรมราชและสุโขทัยพุทธศิลป์สมัยนี้เป็นแบบสกุลช่างนครศรีธรรมราชหลักฐานทีปรากฏอยู่มีใบเสมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบ ๆ เขตพระอุโบสถเดิมของวัด

      ๔. สมัยอยุธยา จากหลักฐานที่มีปรากฏมากมายการสร้างพระพุทธรูปมากมายกว่า สมัยใด มีการสร้างพระพุทธรูปศิลาทรายแดงขนาดโตกว่าคนลงมีถึงขนาดเท่าคนและย่อมกว่าคน ศาสนาพุทธมีเจริญรุ่งเรืองสูงสุดมากที่ไชยา

   ๕. สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์โบราณวัตถุในสมัยกรุงธนบุรีมีน้อยมากเพราะอยู่ในช่วงของการบูรณะบ้านเมือง แต่วัดก็ยังเจริญรุ่งเรืองมีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่ทั่ว ๆ ไป แต่วัดพระบรมธาตุไชยาได้ถูกทำลายให้ไปร้างโดยพม่าในสงครามระหว่างไทยกับพม่าหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ มาจนถึงพระเจ้าตากสินมหาราช มาตีเมืองนครศรีธรรมราชและรวมรวมประเทศขึ้นอีกครั้ง จนย่างเข้าสมัยรัตนโกสินทร์ เกิดศึกเก้าทัพในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) ประชาชนต่างหนีภัยสงคราม วัดพระบรมธาตุไชยและพระบรมธาตุถูกทำลายและทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาได้มีผู้ค้นพบและบูรณะขึ้นมาใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆราชาลังกาแก้ว เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๕๓ ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้วัดพระบรมธาตุไชยคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง มีการบูรณะตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ฉาบปูนผิวบาง ๆ ทั่วทั้งองค์ พระบรมธาตุพร้อมทั้งเสริมยอดที่หักหล่นหายไป มีการสร้างพระวิหารหลวงขึ้นใหม่ในฐานเดิม และได้รวบรวมพระพุทธรูป ที่เกลื่อนกลาดอยู่เข้าประดิษฐานในพระวิหารคดจนเรียบร้อยตราบถึงทุกวันนี้

ความสำคัญ
 ความสำคัญของวัดพระบรมธาตุไชยาอยู่ที่พระบรมธาตุไชยา ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน และเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ วัดพระบรมธาตุไชยา จึงเป็นวัดที่มีสำคัญคู่บ้านคู่เมืองชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมานานนับแต่โบราณกาล จากคำบอกเล่าของชาวเมืองไชยา มีตำนานที่เล่าขานเกี่ยวกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยาว่าครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวอินเดีย ๒ คนชื่อปะหมอกับปะหมัน ทั้งสองเดินทางโดยเรือใบเข้ามาถึงเมืองไชยา ได้พาบริวารขึ้นบกที่บ้านนาค่ายตรงวัดหน้าเมือง ในตำบลเลเม็ด เจ้าเมืองมอบให้ปะหมอ ซึ่งเป็นนายช่างมีความเชี่ยวชาญการก่อสร้าง สร้างเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ครั้นสร้างเสร็จแล้วซึ่งปรากฎว่ามีความสวยงามมาก หลังจากนั้นเจ้าเมืองก็ได้สั่งให้ตัดมือตัดเท้าของปะหมอเสียเพื่อมิให้ไปสร้างเจดีย์ที่งดงามเช่นนี้ให้ผู้ใดอีก ปะหมอทนบาดพิษบาดแผลไม่ได้ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา เจ้าเมืองได้สั่งให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรไว้เป็นเครื่องหมายแทนตัวปะหมอ ส่วนน้องชายที่ชื่อปะหมันได้หนีไปครองเกาะพัดหมัน และตั้งรกรากอยู่ที่นั้นจนกระทั่งสิ้นชีวิตเจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยเป็นองค์เดียวที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ แต่ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยาสมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จากหลักฐานที่ยืนยันถึงอาณาจักรศรีวิชัยอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๒๐๐ ปี โดยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ใช้ภาพของเจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองและผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้ว ก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมนั้น มีลักษณะเป็นเจดีย์องค์เดียวในปัจจุบันที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด โดยองค์เจดีย์พระบรมธาตุมีความสูงจากฐานใต้ดินถึงยอด ๒๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูงย่อเก็จ ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันตกยาว ๑๓ เมตร สำหรับฐานเดิมนี้ได้สร้างก่อนที่ที่พระชยาภิวัฒน์ (หนู ติสโส) จะทำบูรณะใหม่ (มีน้ำล้อม) ซึ่งตั้งอยู่บนผิวดินมีระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบัน ต่อมาทางวัดได้ขุดบริเวณโดยรอบทำฐานเป็นเสมือนสระกว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๖๐-๗๐ เซนติเมตร เพื่อให้ฐานเดิมมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปีในหน้าแล้งบางปีรอบ ๆ ฐานเจดีย์พระบรมธาตุจะแห้งแต่จะมีตาน้ำพุพุ่งขึ้นมา ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่าง ๆ ได้ ต่อมาทางวัดได้ใช้ปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำเสีย องค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อ มุขด้านหน้าหรือมุขด้านตะวันออก มีบันไดขึ้นสำหรับให้ประชาชนเข้าไปนมัสการพระพุทธรูปภายในเจดีย์ เมื่อเข้าไปภายในจะเห็นองค์พระเจดีย์หลวงเห็นผนังก่ออิฐแบบไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอดมุขอีก ๓ ด้าน ซึ่งทึบทั้งหมด ที่มุมฐานทักษิณมีเจดีย์ทิศ หรือเจดีย์บริวารตั้งซ้อนอยู่ด้วยหลังคาทำเป็น ๓ ชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นประดับรูปวงโค้งขนาดเล็ก และสถูปจำลองรวม ๒๔ องค์ เหนือขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งได้รับการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ ๕ เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์ยอดเจดีย์ที่เดิมหักลงมาถึงคอระฆังทำเสียหายมากรวมทั้งฐานเจดีย์ที่จมอยู่ใต้ดินได้ขุดดินโดยรอบฐานพระเจดีย์ ตลอดถึงได้ทำลายรากไม้ในบริเวณนั้นแล้วทำการก่ออิฐถือปูนตลอด เพื่อให้เห็นฐานเดิมของเจดีย์ที่ชัดเจน ในส่วนลวดลายประดับเจดีย์ก็ได้มีการสร้างเพิ่มเติมใหม่ด้วยปูนปั้นเกือบทั้งหมด เป็นลายปั้นใหม่ตามความคิดของผู้บูรณะ มิได้อาศัยหลักทางโบราณคดี รวมถึงลานระหว่างเจดีย์และพระระเบียงเปลี่ยนจากอิฐหน้าวัวเป็นกระเบื้องซีเมนต์ ต่อในสมัยของรัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๒) องค์เจดีย์ก็ได้รับการบูรณะปฎิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง โดยการบูรณะในครั้งนี้เป็นการซ่อมแซมของเก่าที่มีอยู่เดิมให้คงสภาพดีปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของช่างศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้สมบูรณ์ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงเป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมานานนับแต่โบราณกาล ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญแก่วัดได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติและยกฐานะวัดเป็นพระอารามหลวง และเป็น ๑ ใน ๓ ของโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้อันประกอบด้วย พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ใน ถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา  เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียว ที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมืองไชยา สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกองและผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี  หากไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้ว ก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในปัจจุบัน (๒๕๖๑) ทางวัดและราชการได้บูรณะ